เมนูส่วนตัว
เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน
สมัครศิลปินใหม่
เมนูหลัก
หน้าแรก
ข้อมูลศิลปิน
ประกาศเกียรติคุณ
ประกาศเกียรติคุณ
เรื่องทั่วไป
ปริญญากิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2555
รางวัลระดับชาติและนานาชาติ 2555
พัฒนา ผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ หนองป่าครั่ง
ภาพบรรยากาศจัดอบรมวาดภาพสีน้ำ 4 สัปดาห์
วิธีทำตุงไส้หมู /เกษมณี ขัติยะ
เว็บไซต์lannaartist rmutl ได้ ปชส. ใน gotoknow
สูจิบัตรออนไลน์
โครงการบัณฑิตนักปฏิบัติ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม ดนัย เชยประทับ
โครงการบัณฑิตนักปฏิบัติ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม เสกสรร บุญตันจีน
โครงการบัณฑิตนักปฏิบัติ สาขาออกแบบอุตสาหกรรม ไกรสิทธิ์ ฟูสุวรรณ
ทีมงาน
ผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์
หมวดหมู่ข่าว
เชิญร่วมกิจกรรมทุกประเภท
นิทรรศการศิลปะ
หมวดหมู่เว็บลิงค์
ใน มทร.ล้านนา
มหาวิทยาลัยของรัฐ
มหาวิทยาลัยของเอกชน
มหาวิทยาลัยต่างประเทศ
อาจารย์คณะศิลปกรรมฯ
ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมฯ
เว็บแสดงงานศิลปะ
เว็บศิษย์เก่าออกแบบ
หมวดหมู่บทความ
ด้านวิจิตรศิลป์
ด้านประยุกต์ศิลป์
วันนี้ : 38 ครั้ง
จำนวนผู้เข้าชม : 292149 ครั้ง
»
หน้าแรก
»
หมวดหมู่บทความ
» ความเกี่ยวข้องระหว่างสุนทรียศาสตร์กับศิลปะ
ความเกี่ยวข้องระหว่างสุนทรียศาสตร์กับศิลปะ
ความเกี่ยวข้องกันของสุนทรียศาสตร์กับศิลปะ
อาจกล่าวได้ว่า ศิลปะ นั้นเป็นศาสตร์ที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ที่ใช้แนวคิด การตอบสนองตอบของความรู้สึกโดยผ่านสื่อชนิดต่างๆ ที่เรียกรวมกันว่า ผลงานศิลปะ ทั้งนี้ในการสร้างสรรค์เหล่านั้นมีทฤษฎีและหลักการรองรับอยู่ เช่น องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ (Element of Art) ที่ประกอบด้วยทฤษฎีที่เกี่ยวกับ เส้น สี แสงเงา รูปร่าง รูปทรง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีของการสร้างงานศิลปะ เช่น การวางองค์ประกอบ พื้นที่ว่าง พื้นผิว จังหวะ ลีลา ฯลฯ ที่เป็นการนำเอา องค์ประกอบพื้นฐานมาใช้ในการจัดสร้างให้เกิดเป็นผลงานทางศิลปะ โดยใช้วัสดุ สื่อและเทคนิคที่แตกต่างกันออกไป เช่น การเขียนด้วยสีน้ำ สีน้ำมัน การปั้นด้วยดิน การหล่อด้วยโลหะ การแกะไม้ ฯลฯ ผลงานทางศิลปะเหล่านี้มีลักษณะและคุณค่าทางสุนทรียะ โดยเป็นสิ่งที่สรรสร้างขึ้นจากสิ่งที่มีชีวิตที่มีความรู้ มีความสำนึก(Sentient beings) ซึ่งก็คงไม่พ้นไปจากความเป็นมนุษย์นั่นเอง งานศิลปะจึงเป็นสิ่งที่เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ ในการใช้สื่อ และรูปแบบทางศิลปะ เพื่อแสดงออกหรือถ่ายทอดความรู้สึกจากศิลปินผู้สร้างผลงานไปยังผู้รับได้ดีที่สุด ส่วนสุนทรียศาสตร์นั้นก็ไม่สามารถแยกออกจากเนื้อหาของศิลปะได้หรือปรัชญาของศิลปะก็คือเนื้อหาของสุนทรียศาสตร์นั้นเองแต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาในส่วนที่เป็นสุนทรียศาสตร์นั้นกว้างขวางกว่าเนื้อหาที่เป็นปรัชญาของศิลปะเพราะมิได้มุ่งใช้แต่เพียงผลงานที่เป็นศิลปะเท่านั้นแต่ครอบคลุมไปถึงสิ่งที่มีใช้ผลงานศิลปะ เช่น ความงดงามที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ หรือคติที่ว่าถึงความงดงามสุนทรียศาสตร์มักจะมุ่งเน้นไปที่ประสบการณ์ หรือการมีประสบการณ์ทางสุนทรียะ หรือการจะให้ประสบการณ์ทางสุนทรียะเกิดขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องของ "ความงาม" นั้นมีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง ศิลปะ และ สุนทรียศาสตร์ ความงามในทางสุนทรียศาสตร์นั้นเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่สามารถให้คำอธิบายอย่างเป็นสากลได้ เป็นไปได้ที่จะมีกับทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ตามธรรมชาติหรือสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ส่วนความงามในทางศิลปะนั้นปรัชญาทางศิลปะเป็นการค้นหานิยามของความงาม เช่น ความงามเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการเป็นศิลปะหรือไม่ ถ้าศิลปะอาจจะงามหรือไม่งามก็ได้ ความงามจึงไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดในการตัดสินความเป็นศิลปะจึงต้องมีเกณฑ์ที่นำมาใช้ตัดสินความเป็นงานศิลปะหรือความงามในศิลปะ งานศิลปะนั้นได้นำเอามโนทัศน์และกระบวนการเข้าด้วยกัน มุ่งที่กระบวนการในการสร้างสรรค์ศิลปะเป็นสำคัญ ความงามทางศิลปะกรรมศาสตร์จึงเป็นความคิดที่ได้จากสุนทรียศาสตร์และปรัชญาศิลปะมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์และคำอธิบาย อ้างอิงสำหรับกระบวนการและเป้าหมายของศิลปะนั้นเอง
ความแตกต่างระหว่างความงามในแง่ของศิลปกรรมกับสุนทรียศาสตร์นั้นอาจจะพออธิบายให้ง่ายได้ว่า ความงามในเชิงศิลปะนั้นมุ่งเน้นไปที่ความรู้ศึกที่แฝงไปด้วยปรัชญาของการแก้ปัญหาภายในของศิลปิน แล้วแสดงออกมาทางสื่อเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ถึงความงดงาม ความประทับใจที่ตัวศิลปินมี ส่วนความงดงามในทางสุนทรียศาสตร์นั้นเป็นความงดงามที่เกิดขึ้นภายในตัวของบุคคลแต่ละคนเมื่อไปสัมผัสกับสิ่งที่น่าปราถนา สิ่งที่พึงพอใจ และมีความงดงามที่เป็นสากลโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวพันกับปรัชญา หรือการแก้ไขปัญหาใดๆ เช่นความรู้สึกที่มีต่อความงดงามของแสงอาทิตย์ในยามรุ่ง หรือแสงในยามเย็น ที่ให้ความรู้สึกต่อผู้คนที่พบเห็นและมนุษย์สามารถรับรู้ถึงความงดงามเหล่านั้นได้เหมือนๆ กัน เป็นต้น
หมวดหมู่:
ด้านวิจิตรศิลป์
ผู้เขียนบทความ:
มนตรี เลากิตติศักดิ์
เวลาป้อน: 9 มิ.ย. 2011 08:30
แก้ไขล่าสุด: 9 มิ.ย. 2011 08:30
จำนวนการเปิด: 11,755
ข้อคิดเห็น
เข้าสู่ระบบ
ลิขสิทธิ์ © 2010 คณะศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด
95/2 ถ.ซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-เชียงใหม่ ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 53000
โทรศัพท์ 053-414250 / โทรสาร.053-414253